บทความน่ารู้

ภูมิแพ้ถั่วเหลือง

ภูมิแพ้ถั่วเหลือง ถั่วเหลืองให้โปรตีนที่สำคัญแก่มนุษย์ พบว่ามีเด็กที่มีอาการแพ้ถั่วเหลือง ตั้งแต่อาการน้อยจนถึงมีอาการรุนแรงได้ โปรตีนในเมล็ดถั่วเหลือง เป็นโปรตีนที่มีคุณภาพดี สามารถทดแทนเนื้อสัตว์ได้ เพราะมีกรด อะมิโนที่จำเป็น (essential amino acid) ทั้งชนิด และปริมาณที่สมดุลมากกว่าถั่วชนิดอื่น อาการ และอาการแสดง ผื่นลมพิษ ผื่นผิวหนังอักเสบ ปากบวม หายใจลำบาก ถ่ายเป็นมูกเลือด โดยอาการอาจเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันภายในเวลาเป็นนาที หลังรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วเหลือง หรืออาจมีอาการแบบล่าช้าได้ ผู้ป่วยที่แพ้ถั่วเหลือง มักไม่มีอาการแพ้ต่อถั่วชนิดอื่นๆ เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ ดังนั้นไม่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงอาหารประเภทถั่วชนิดอื่น การดำเนินโรค มีการดำเนินโรคที่ดี ผู้ป่วยมักหายจากการแพ้ถั่วเหลือง ในช่วงอายุประมาณ 7 ปี ตัวอย่างอาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วเหลือง อาหารคาว : เต้าหู้ (ก๋วยเตี๋ยวหลอด, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย), แฮกึ้นและหอยจ๊อ, เปาะเปี๊ยะสด, ขนมเบื้องญวน, หมี่กรอบ, หมี่กะทิ, เต้าหู้ยี้, เต้าเจี้ยว, เต้าซี่, โปรตีนเกษตร, ซีอิ๊ว อาหารว่าง : น้ำเต้าหู้, นมถั่วเหลือง, โยเกิร์ต, เต้าฮวย, เต้าฮวยฟรุตสลัด รายละเอียดในฉลากอาหาร (food label) ที่บ่งบอกว่ามีถั่วเหลืองเป็นส่วนประกอบ – Edamame (soybeans in pods) – Hydrolyzed soy protein – Kinnoko flour – Miso – Okara (soy pulp) – Soy albumin – Soy flour, soya flour – Soy milk – Soy protein – Soybean flour – Soybean paste – Tofu – Kyodofu (freeze dried tofu) – Natto – Shoyu sauce – Say concentrate – Soy formula – Soy nut butter – Soybean curd – Soy lecithin -Teriyaki sauce – Yakidofu Yuba (bean curd)

อ่านต่อ

ระดับออกซิเจนในเลือดไม่สมดุล อันตรายใกล้ตัว ที่ทุกคนควรรู้

ผู้ที่มีสุขภาพดีพร้อมกับปอดที่แข็งแรงเมื่อวัดด้วยเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด ควรจะมีระดับออกซิเจนในเลือด 80-100 มม.ปรอท หรือ 95-100% ไม่ควรต่ำหรือสูงมากไปกว่านี้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วก็จะบ่งบอกถึงสัญญาณผิดปกติของระดับออกซิเจนในเลือดที่ไม่สมดุล ระดับออกซิเจนในร่างกายคืออะไร? ผู้ที่มีสุขภาพดีพร้อมกับปอดที่แข็งแรงเมื่อวัดด้วยเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด ควรจะมีระดับออกซิเจนในเลือด 80-100 มม.ปรอท หรือ 95-100% ไม่ควรต่ำหรือสูงมากไปกว่านี้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้วก็จะบ่งบอกถึงสัญญาณผิดปกติของระดับออกซิเจนในเลือดที่ไม่สมดุล ระดับออกซิเจนในเลือดเป็นการวัดระดับฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจนซึ่งจะช่วยบอกว่าเม็ดเลือดแดงขนส่งออกซิเจนไปให้ร่างกายเพียงพอหรือไม่ ร่างกายของคุณจะควบคุมระดับออกซิเจนและรักษาความสมดุลของเลือดให้พร้อมไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงระบบอวัยวะที่สำคัญในร่างกาย เมื่อใดที่คุณมีอาการผิดปกติหรือปัญหาของสุขภาพ เช่น อาการหายใจถี่หรือเจ็บหน้าอก เวียนหัวเรื้อรัง เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย เจ็บป่วยง่าย อย่างไม่ทราบสาเหตุ รวมถึงผู้ที่มีภาวะสุขภาพเรื้อรังอื่นๆ อาจจะต้องติดตามระดับออกซิเจนในเลือด ด้วยการตรวจวัดระดับออกซิเจนในเลือดของคุณ ซึ่งสามารถช่วยคัดกรองโรครุนแรง เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ได้ก่อนโรคเหล่านี้จะกำเริบรุนแรง พร้อมกับการติดตามหลังการรักษาได้เช่นกัน

อ่านต่อ

โรคผิวหนังในฤดูฝน

หลังจากประเทศไทยได้ผ่านช่วงฤดูร้อนกันมาแล้ว ตอนนี้ก็จะเข้าสู่ช่วงฤดูฝน หน่วยผิวหนังของศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก จึงอยากแนะนำให้ประชาชนได้รู้จักกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน เพื่อจะได้รู้วิธีการดูแลรักษาและวิธีป้องกันเบื้องต้นก่อนมาพบแพทย์ มารู้จักกับ 4 โครผิวหนังที่พบบ่อยในฤดูฝน โรคเชื้อราที่ผิวหนัง เผื่นผิวหนังอักเสบจากแมลง โรคน้ำกัดเท้า โรคเท้าเหม็น โรคเกลื้อน (Pityriasis versicolor) ผื่นเป็นวงหลายวง ขอบเขตชัดเจน มีขุยละเอียด เป็นได้หลายสี ทั้งสีขาว แดง ชมพู หรือสีน้ำตาล ขึ้นอยู่กับสีผิวของผู้ป่วย อาจไม่มีอาการ หรือมีอาการคันเล็กน้อยได้ มักพบบริเวณหน้าอก หลัง คอ และพบได้บ่อยในผู้ที่มีเหงื่อออกมาก หรือใส่เสื้อผ้าอับชื้น เกิดจากเชื้อรา Malassezia furfur การป้องกัน: อาบน้ำ ชำระล้างเหงื่อไคลอยู่เสมอ ไม่ใช้ผ้าเช็ดตัวหรือเสื้อผ้าที่อับชื้น การรักษา: ยาฆ่าเชื้อรา ซึ่งมีทั้งยาทาภายนอก และยารับประทาน โรคกลาก (Tinea) ผื่นเป็นวงกลมสีแดงนูน ขอบชัดและมีขุยที่ขอบ บางชนิดอาจมีการอักเสบรุนแรงเป็นตุ่มหนองได้ มักมีอาการคันร่วมด้วย พบได้หลายบริเวณ เช่น ลำตัว ใบหน้า ขาหนีบ มือและเท้า พบได้หลายบริเวณ เช่น ลำตัว ใบหน้า ขาหนีบ มือและเท้า พบได้หลายบริเวณ เช่น ลำตัว ใบหน้า ขาหนีบ มือและเท้า หากสงสัยว่าเป็นโรคดังกล่าว ไม่แนะนำให้ซื้อยา steroids มาทาเอง เนื่องจากทำให้ผื่นลุกลามได้ การป้องกัน: ติดต่อทางการสัมผัส โดยขึ้นกับชนิดและแหล่งของเชื้อรา เช่น ติดจากคน สัตว์ หรือสิ่งแวดล้อม

อ่านต่อ